เกร็ดความรู้เรื่อง “ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษา”
ภาพที่ ๑ ถวายเทียนพรรษา
วันเข้าพรรษา (ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษา) เป็นประเพณีของชาวพุทธจะคงถูกสืบสานและสานต่อ หนึ่งในนั้นคือ “การถวายเทียนจำนำพรรษา” เพื่อรับอานิสงส์ 8 ข้อ ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษาคือ
๑. ทำให้เกิดปัญญา ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน
๒. ทำให้ชีวิตสว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมเจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ
๓. ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาร้ายกลับกลายเป็นดี
๔. ย่อมเจริญไปด้วยมิตรและบริวาร
๕. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
๖. เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว
๗. เมื่อลาลับโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สุคติและสวรรค์
๘. หากสั่งสมบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่นิพพาน
ภาพที่ ๒ ที่มาของ “การถวายเทียนจำนำพรรษา”
ข้อมูลจาก วัดราชาธิวาสวิหาร ระบุไว้ว่า วันเข้าพรรษาเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ทุกรูปที่บวชใหม่และบวชมานานมีพรรษามาก จะอยู่ในแห่งหนตำบลใดก็ตาม เมื่อถึงวันนี้แล้วจะต้องทำพิธีอธิษฐานพรรษา กล่าวคือ อธิษฐานเพื่ออยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งที่ตนทำพิธีอธิษฐานนั้น ตลอดเวลา 3 เดือน
โดยพระภิกษุสงฆ์ต้องจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อไม่ให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาให้ได้รับความเสียหาย โดยในวันเข้าพรรษามีประเพณีที่สำคัญ 2 ประเพณี ได้แก่ “ประเพณีแห่เทียนพรรษา” และ “ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน”
ภาพที่ ๓ ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษา
เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี โดยชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยนำรังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้งแล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอก แล้วใช้จุดบูชาพระ เทียนพรรษาเริ่มมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไปถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจแสงสว่างของดวงเทียน
ภาพที่ ๔ ประเพณีการถวายเทียนจำนำพรรษาในประเทศไทย
การถวายเทียนจำนำพรรษาได้กระทำขึ้นก่อนเทศกาลเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาทุกปี คือก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือเดือน 8 ที่สอง ในกรณีที่มีอธิกมาส พุทธศาสนิกชนก็จะพากันขวนขวายให้มีการถวายเทียนจำนำพรรษาแก่วัดในท้องถิ่นของตน เพื่อให้พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 เดือน
สมัยก่อนเทียนพรรษามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะพระสงฆ์ต้องใช้จุดให้แสงสว่างในการศึกษาพระธรรมวินัย แต่ในปัจจุบันนั้นเทียนพรรษาอาจจะมีความสำคัญลดน้อยไป ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้เปลี่ยนมาถวายหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย เป็นต้นแทน แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีการถวายเทียนพรรษากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชาวพุทธไม่ให้สูญหายไป
ภาพที่ ๕ เทียนเข้าพรรษา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
๑.เทียนหลวง หมายถึงเทียนที่ทำขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 8 นิ้ว
๒.เทียนน้อย หมายถึงเทียนเล็ก คือขนาดโตกว่าเทียนไขธรรมดาเล็กน้อย แต่ก็จัดว่ามีขนาดใหญ่กว่าธรรมดาแล้ว
การถวายเทียนพรรษาเป็นประเพณีหนึ่งของชาวล้านนาที่นิยมทำกัน นอกจากหวังให้เกิดบุญเกิดกุศลแล้ว ถ้าทำเทียนใหญ่ย่อมก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ จึงสมควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีนี้โดยช่วยกันรักษาไว้ให้คงมีต่อไป อย่าให้เสื่อมสูญ
ภาพที่ ๖ ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร
ประเพณีหลวง เรียกเป็นทางการว่า “การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา”ประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง และเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพราะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
ประเพณีราษฎร เรียกกันว่า “เทียนจำนำพรรษา” หรือ “เทียนพรรษา” ประเพณีนี้ประชาชนเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษา ปัจจุบันเทียนพรรษามี 2 ชนิด คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ กันเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้ เทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น
ประเพณีการแห่เทียนจำนำพรรษานี้ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทย แต่ที่ทำกันเป็นประเพณีใหญ่โตที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี มีการแกะสลักต้นเทียนอย่างสวยงามและจัดประกวดแข่งขันก่อนนำไปถวายตามวัดต่างๆ
แสงแห่งศรัทธา ผู้เนรมิตศาสนพิธีอย่างมืออาชีพ
ผู้บุกเบิกห้างสรรพสินค้าสังฆภัณฑ์ “เจ้าแรกในประเทศไทย”
📌 สามารถปรึกษาเพื่อดูฤกษ์งานได้ฟรีนะคะ
🚩บริการรับจัดงานพิธี ครบถ้วน สมบูรณ์ จบในที่เดียว
🚩รับจัดพิธีทำบุญ และพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพิธี บริการครบวงจร
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
🔹ทักไลน์ @satthaline > https://lin.ee/Opo79DK
🔹Facebook Inbox > m.me/satthaofficial
🔹IG : satthaofficial
🔹โทร : 085 659 1459
บริการทั้งหมด
สังฆภัณฑ์
ศาลพระพรหม รับจัดพิธีไหว้ศาลพระพรหม บวงสรวงศาลพระพรหม
บูชาพระพิฆเนศ บวงสรวงพระพิฆเนศ ไหว้พระพิฆเนศ รับจัดพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศ
ความเชื่อเรื่องการบวงสรวงพระอินทร์
พระตรีมูรติ บวงสรวงพระตรีมูรติ วิธีไหว้พระตรีมูรติ
ศาลพระภูมิ ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่
ศาลตายาย เครื่องไหว้ศาลตายาย บวงสรวงศาล รับจัดพิธีตั้งศาล ย้ายศาล
พิธีเปิดหน้าดิน รับจัดพิธีเปิดหน้าดิน รับจัดบวงสรวงพราหมณ์ทุกพิธี
พิธียกเสาเอก ทำไมต้องทำ? พิธีสำคัญก่อนสร้างบ้าน เสริมสิริมงคลให้ชีวิต
พิธีวางศิลาฤกษ์ การวางศิลาฤกษ์สำหรับนิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมก่อสร้าง
บริการจัดพิธีบวงสรวงทุกรูปแบบ
บวงสรวงรื้อบ้านรื้อตึก รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง รื้อถอนอาคาร รับจัดพิธีรื้อถอน
การบวงสรวงเปิดกล้อง ละคร ภาพยนตร์ การแสดง
พิธีเททองหล่อพระ และ พิธีพุทธาภิเษก แตกต่าง เกี่ยวข้อง และมีความสำคัญกันอย่างไร?
คติความเชื่อและพิธีบวงสรวงพญานาค
การบวงสรวงองค์พญาครุฑ
พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์
พิธีบวงสรวงตัดต้นไม้ใหญ่
พิธีบวงสรวงเปิดบริษัท หรือเปิดโรงงาน
พิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง
พิธีบวงสรวงตลาดหลักทรัพย์คืออะไร สำคัญอย่างไร?
พิธีการไหว้ครูและครอบครู
พิธีบายศรีสู่ขวัญ
บริการจัดงานทำบุญ
งานทำบุญวันเกิด ทำไมคนถึงนิยมทำบุญในวันเกิด?
ทำบุญปีใหม่ ทำบุญบริษัท ทำบุญออฟฟิศ ทำบุญประจำปี
ความสำคัญของการทำบุญบ้าน และ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่
งานทำบุญพิธีรับตำแหน่งคืออะไร? ทำไมต้องจัดงานทำบุญเมื่อบุคคลหนึ่งรับตำแหน่งหน้าที่ใหม่?
ประเพณีการบวชในพุทธศาสนา
พิธีแต่งงานแบบไทย
พิธีโกนผมจุก